วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

AD in NORTH KOREA


แนวทางการโฆษณาที่สามารถหาชมได้ทั่วไปของสื่อโสมแดง



เนื่องจากเกาหลีเหนือยังเป็นชาติที่อยู่ภายใต้การควบคุมของผู้นำสูงสุด และยังไม่เปิดระบบการค้าเป็นแบบเสรีนิยม ทุนนิยมดังเช่นเกาหลีใต้ เนื่องด้วยการจำกัดสิทธิ์ต่อการเผยแพร่ ทั้งเศรษฐกิจ ยังไม่มีแนวโน้มที่จะพัฒนาอย่างเต็มตัว จึงสามารถพบเห็นการใช้สื่อเทคโนโลยีในยุคเก่า ต้องคอยติดตามกันว่า ในโลกที่เปลี่ยนแปลงไปของนานาประเทศ จะทำให้เกาหลีเหนือ สนใจที่จะปรับเปลี่ยนไปตามทิศทางโลกหรือไม่ และเมื่อเปิดประเทศ เปลี่ยนแปลงการปกครองแล้วจะเป็นไปในทิศทางใด 

มองเกาหลีเหนือ จากมุมเรา


ภาวะเปลี่ยนผ่านอำนาจผู้นำของโสมแดง


ปิดฉาก คิม จอง อิล

เจาะลึก ล้วงลับ โสมแดง



เจาะลึกมหานครแห่งโสมแดง



การใช้ชีวิตของผู้ไปเยือนเป็นเช่นไร


เศรษฐกิจ เกาหลีเหนือ


เศรษฐกิจ


นครเปียงยาง

เกาหลีเหนือมีการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจในลักษณะวางแผนเศรษฐกิจจากส่วนกลาง โดยเกาหลีเหนือได้ยึดถืออุดมการณ์ตามลัทธิจูเช่ (Juche) ของพรรคแรงงานเกาหลีมาเป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศ โดยเน้นความเป็นเอกภาพ การพึ่งพาตนเอง เกียรติภูมิของชาติ และการสร้างความเจริญให้กับประเทศ พร้อมกับประกาศ "ขบวนการม้าบิน" (Chollima Movement) ในปี พ.ศ. 2501 ที่กระตุ้นให้ประชาชนขยันขันแข็งในการทำงาน เร่งเพิ่มผลผลิตโดยเฉพาะทางด้านการเกษตร
เกาหลีเหนือมีระบบการค้าผูกขาดโดยภาครัฐ ทั้งการค้าในประเทศและต่างประเทศ โดยกระทรวงพาณิชย์ควบคุมการค้าภายในประเทศ และกระทรวงการค้าต่างประเทศควบคุมการค้าระหว่างประเทศ โดยได้จัดตั้งบริษัทการค้าของรัฐหรือสหกรณ์การค้าของรัฐ เป็นผู้ดำเนินการเกี่ยวกับการค้า รัฐบาลเกาหลีเหนือพยายามขยายการค้ากับต่างประเทศให้มากขึ้น โดยได้เน้นการผลิตสินค้าที่ตลาดต่างประเทศมีความต้องการเพิ่มขึ้น พยายามปรับปรุงความน่าเชื่อถือของเกาหลีเหนือ ส่งเสริมสินค้าออกทั้งแบบ merchant trade และ barter trade ส่งเสริมการร่วมลงทุนกับต่างประเทศ นอกจากนี้ เกาหลีเหนือได้จัดตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (Commission for the Promotion of Foreign Trade) เพื่อสนับสนุนการค้ากับประเทศที่ยังไม่มีความสัมพันธ์ทางการทูตกับเกาหลีเหนือ


ในปี 2538 และ 2539 ได้ประสบอุทกภัยครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 10 ปี ซึ่งได้สร้างความเสียหายให้กับพื้นที่เกษตรกรรมและโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศ ต่อมาในปี 2540 เกาหลีเหนือประสบกับภาวะภัยแล้งและพายุในช่วงฤดูใบไม้ร่วง ซึ่งได้สร้างความเสียหายให้พื้นที่เพาะปลูกข้าวทางฝั่งตะวันตกของประเทศ ทำให้ไม่สามารถผลิตอาหารให้เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศ ก่อให้เกิดภาวะขาดแคลนอาหาร ประชาชนเจ็บป่วยและล้มตายเป็นจำนวนมากรัฐบาลเกาหลีเหนือจึงได้เริ่มขอรับความช่วยเหลือจากประชาคมโลกมาตั้งแต่ปี 2538 ทั้งนี้ ก่อนการล่มสลายของคอมมิวนิสต์ในปี 2532-2533 ประเทศที่เคยเป็นคู่ค้าที่สำคัญของเกาหลีเหนือคือ สหภาพโซเวียตและกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก แต่หลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต มูลค่าการค้ากับประเทศรัสเซียได้ลดน้อยลงอย่างมาก และประเทศยุโรปตะวันออกก็ไม่มีกำลังซื้อ นอกจากนี้ สินค้าส่งออกของเกาหลีเหนือ ก็ไม่สามารถแข่งขันกับสินค้าประเภทเดียวกันจากประเทศอื่น ๆ ทั้งทางด้านคุณภาพและราคาได้ รวมทั้ง เกาหลีเหนือยังประสบปัญหาการขาดเแคลนเงินตราต่างประเทศ เพื่อนำไปซื้อวัตถุดิบต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้ในการผลิตสินค้าอีกด้วย
 การทดลองขีปนาวุธและอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การลงทุนและการค้าต่างประเทศชะงักงัน โดยเฉพาะผลกระทบจากข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ที่ 1718 (2006) หากปัญหาต่างๆ ดังกล่าวได้รับการแก้ไข รวมทั้งมีการปรับเปลี่ยนมาตรฐานทางการเงินให้เป็นสากลมากขึ้น ก็อาจทำให้การลงทุนในเขตเศรษฐกิจดังกล่าวได้รับความสนใจจากต่างประเทศมากขึ้นกว่าในปัจจุบัน
เมื่อ 2 สิงหาคม 2545 เกาหลีเหนือได้เริ่มทดลองมาตรการปฏิรูประบบเศรษฐกิจ โดยลดการปันส่วนอาหาร และให้ประชาชนซื้ออาหารจากตลาดมากขึ้นแทน และเพิ่มค่าแรงเพื่อให้ประชาชนมีกำลังซื้ออาหารจากตลาดเอง รัฐบาลเกาหลีเหนือจะใช้ family production system ในพื้นที่เกษตรกรรมซึ่งคล้ายกับระบบที่จีนใช้เมื่อเริ่มการปฏิรูปเศรษฐกิจใหม่ ๆ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรเพิ่มผลผลิต รัฐบาลเกาหลีเหนือจะลดการซื้อธัญพืชสำหรับการปันส่วนของรัฐ และจะปล่อยให้เกษตรกรสามารถขายพืชผลได้เองมากขึ้น นอกจากนี้ รัฐบาลเกาหลีเหนือจะลดค่าเงินของเกาหลีเหนือจาก 2.2 วอนต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ เป็น 200 วอนต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ เพื่อให้สอดคล้องกับการปรับตัวเข้าสู่ระบบตลาดต่อไปในอนาคต
การปฏิรูประบบเศรษฐกิจของเกาหลีเหนือมีความคืบหน้าที่ดีขึ้น ถือว่าประสบผลสำเร็จในระดับหนึ่ง โดยเกาหลีเหนือสามารถรับมือกับปัญหาอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการปฏิรูปได้ มีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง มีการปรับปรุงการจัดสรรอุปทานพลังงานเพื่อรองรับความต้องการได้ดีขึ้น มีความพยายามเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมากขึ้นทั้งในภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และการค้าระหว่างประเทศ ในปี 2546 ภาคเกษตรมีผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 4.156 ล้านตันจากความต้องการบริโภค 5.1 ล้านตัน ภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 12 และภาคการค้าระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 2,390 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นมูลค่าสูงสุดในรอบ 11 ปี
ปัจจุบัน รัฐบาลเกาหลีเหนือได้ให้อิสระมากขึ้นแก่ประชาชน รัฐวิสาหกิจ และบริษัทต่างๆ ในการเลือกประกอบอาชีพ การบริหารจัดการ การจัดทำข้อตกลงการค้าได้ นอกจากนี้ รัฐบาลยังจัดตั้งตลาดซื้อขายสินค้าเพิ่มอีกกว่า 300 แห่ง เพื่อรองรับการขยายตัวของการเข้าไปมีส่วนร่วมของประชาชนในระบบเศรษฐกิจการตลาด ในขณะที่สตรีเกาหลีเหนือก็เข้าไปมีบทบาทในการหารายได้เลี้ยงครอบครัวเพิ่มขึ้นด้วย

การเมือง การปกครอง เกาหลีเหนือ


การเมือง




เกาหลีเหนือเป็นรัฐคอมมิวนิสต์ ภายใต้การปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์ มีประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ
เกาหลีเหนือปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ตามแนวทางของอดีตสหภาพโซเวียต ระบบการเมืองของเกาหลีเหนือตั้งอยู่บนพื้นฐานของลัทธิจูเช่ (Juche) ซึ่งอดีตประธานาธิบดี คิม อิลซอง ได้บัญญัติขึ้นเมื่อ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2498 ประกอบด้วยหลักการสำคัญ คือเอกราชทางการเมืองอย่างแท้จริง การพึ่งพาตนเองทางเศรษฐกิจ และการป้องกันประเทศด้วยตนเอง
เกาหลีเหนือมีการปกครองระบบพรรคเดียวมาโดยตลอด นับตั้งแต่มีการก่อตั้งประเทศเมื่อ 9 กันยายนพ.ศ. 2491 โดยมีพรรคคนงานเกาหลี (Workers Party of Korea) เป็นองค์กรที่มีบทบาทและอิทธิพล สูงสุดในทางการเมืองที่คอยควบคุมหน่วยงานของรัฐบาลในการบริหารประเทศ ตามที่รัฐธรรมนูญปกครองประเทศของเกาหลีเหนือบัญญัติไว้ว่า อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศเป็นของสมัชชาประชาชนสูงสุด ซึ่งมีสมาชิก 687 คน มาจากการเลือกตั้งและมีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี
สถานการณ์การเมืองภายในของเกาหลีเหนือได้เข้าสู่ความไม่แน่นอน ภายหลังจากการถึงแก่อสัญกรรมของประธานาธิบดีคิม อิลซอง ในปี พ.ศ. 2537 ซึ่งทำให้ประชาคมระหว่างประเทศกังวลว่าเกาหลีเหนือจะประสบปัญหาวุ่นวาย อย่างไรก็ตาม การเข้ารับตำแหน่งผู้นำประเทศของนายคิม จอง อิล ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2541 แสดงให้เห็นว่านายคิม จอง อิล สามารถกุมอำนาจการปกครองประเทศได้อย่างเบ็ดเสร็จ โดยนายคิม จอง อิล ก็ได้มีท่าทีที่ต้องการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศในโลกเสรีมากขึ้น คาดว่าเพราะต้องการได้รับเงินตราต่างประเทศ เพื่อนำมาปรับปรุงและฟื้นฟูสภาพเศรษฐกิจของประเทศ




เมื่อ 5 กันยายน 2541 การประชุมสภาประชาชนสูงสุดครั้งที่10มีมติให้แก้ไขรัฐธรรมนูญโดยระบุว่า
  • นายคิม อิลซอง เป็นผู้ก่อตั้งเกาหลีเหนือ และเป็นบรรพบุรุษแห่งสังคมนิยมของเกาหลี ดังนั้น จึงยกย่องให้เป็นประธานาธิบดีตลอดกาล (Eternal President)
  • ยกเลิกระบบประธานาธิบดีเป็นประมุข ให้ประธานคณะกรรมการป้องกันประเทศ (Chairman of the National Defense Commission) เป็นตำแหน่งสูงสุดของประเทศ โดยมีอำนาจปกครองด้านการเมือง การทหาร และเศรษฐกิจ
  • ให้สภาบริหารสูงสุด (Presidium) ของสภาประชาชนสูงสุดเกาหลีเหนือ (Supreme People's Assembly) เป็นองค์กรนิติบัญญัติสูงสุดของประเทศ
อนึ่ง สภาบประชาชนสูงสุดมีมติแต่งตั้งนายคิม ยอง-นัม ให้ดำรงตำแหน่งประธานสภาบริหารสูงสุดของสภาประชาชนสูงสุดเกาหลีเหนือ รับผิดชอบงานด้านการดำเนินความสัมพันธ์ทางการทูตกับต่างประเทศ ได้แก่ทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเรื่องพิธีการทูต การให้และยกเลิกสัตยาบัน การแต่งตั้งและเรียกกลับผู้แทนทางการทูตในต่างประเทศ การรับสาส์นตราตั้งทูตต่างประเทศ การเป็นผู้แทนประเทศพบบุคคลสำคัญจากต่างประเทศที่ไปเยือนเกาหลีเหนือ รวมทั้งเป็นผู้แทนประเทศเดินทางไปเยือนประเทศอื่นๆ

NORTH KOREA



สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (อังกฤษ: Democratic People's Republic of Korea หรือชื่อโดยทั่วไปว่า เกาหลีเหนือ (อังกฤษ: North Korea)เป็นประเทศในเอเชียตะวันออก กินพื้นที่ครึ่งเหนือของคาบสมุทรเกาหลี เมืองหลวงและนครใหญ่สุดคือ เปียงยาง เขตปลอดทหารเกาหลีเป็นเขตกันชนระหว่างเกาหลีเหนือกับเกาหลีใต้ แม่น้ำอัมนอคหรือยาลู และตูเมนเป็นพรมแดนระหว่างเกาหลีเหนือกับจีน แม่น้ำตูเมนส่วนที่ห่างไปทางตะวันออกเฉียงเหนือเป็นพรมแดนกับรัสเซีย
คาบสมุทรเกาหลีถูกปกครองโดยจักรวรรดิเกาหลีเรื่อยมากระทั่งถูกผนวกเข้ากับญี่ปุ่นหลังสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น 


พ.ศ. 2448 และถูกแบ่งเป็นเขตยึดครองโซเวียตและอเมริกาใน พ.ศ. 2488 หลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติ เกาหลีเหนือปฏิเสธจะเข้าร่วมการเลือกตั้งที่สหประชาชาติอำนวยการ ซึ่งจัดในทางใต้ใน พ.ศ. 2491 และนำไปสู่การสถาปนารัฐบาลเกาหลีแยกในเขตยึดครองทั้งสอง ทั้งเกาหลีเหนือและใต้ต่างอ้างอธิปไตยเหนือคาบสมุทรเกาหลีทั้งหมด และนำไปสู่สงครามเกาหลีใน พ.ศ. 2493 ความตกลงสงบศึกชั่วคราว พ.ศ. 2496 ยุติการสู้รบ อย่างไรก็ดี ทั้งสองยังถือว่าอยู่ในภาวะสงครามต่อกันอย่างเป็นทางการ เพราะยังไม่มีการลงนามสนธิสัญญาสันติภาพทั้งสองรัฐได้รับการยอมรับเข้าสู่สหประชาชาติใน พ.ศ. 2534
เกาหลีเหนือเป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวภายใต้สหแนวร่วมนำโดยพรรคกรรมกรเกาหลีรัฐบาลของประเทศเจริญตามอุดมการณ์จูเช่ (Juche) ว่าด้วยการพึ่งพาตนเอง พัฒนาโดยประธานาธิบดีของประเทศ คิม อิลซอง หลังเขาถึงแก่อสัญกรรม คิม อิลซองถูกประกาศให้เป็นประธานาธิบดีตลอดกาลของประเทศ จูเชกลายมาเป็นอุดมการณ์ของรัฐอย่างเป็นทางการ เมื่อประเทศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ใน พ.ศ. 2515  แม้คิม อิลซองจะใช้ร่างเป็นนโยบายอย่างน้อยตั้งแต่ พ.ศ. 2498 หลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียตและภัยพิบัติทางธรรมชาติหลายครั้ง ได้เกิดทุพภิกขภัยขึ้น เป็นเหตุให้มีประชาชนเสียชีวิตถึงระหว่าง 9 แสนถึง 2 ล้านคน โดยเผชิญกับสถานการณ์เหล่านี้ ผู้นำ คิม จองอิลประกาศใช้นโยบายซอนกุน (Songon) หรือ "ทหารมาก่อน" เพื่อเสริมสร้างประเทศและรัฐบาล  
ปัจจุบันดำรงค์ตำแหน่ง โดยนาย คิม จ็อง อึน ผู้เป็นบุตรชายของนาย คิม จ็อง อิล



องค์การต่างชาติหลายแห่งอธิบายเกาหลีเหนือว่าเป็นเผด็จการลัทธิสตาลินเบ็ดเสร็จ โดยมีลัทธิบูชาบุคคลประณีตรอบครอบครัวคิมและเป็นหนึ่งในประเทศที่มีบันทึกสิทธิมนุษยชนต่ำที่สุดในโลก รัฐบาลเกาหลีเหนือปฏิเสธความเชื่อมโยงนี้ เกาหลีเหนือเป็นชาติติดอาวุธมากที่สุดของโลก โดยมีกำลังพลประจำการ สำรองและกึ่งทหารรวม 9,495,000 นาย ทั้งเป็นรัฐอาวุธนิวเคลียร์และมีโครงการอวกาศที่ยังดำเนินอยู่ 

AD of STARBUCKS

FAN PAGE
OUT OF HOME
BILL BOARD
PRINT

PRINT

TVC

TVC



รีแบรนด์ STARBUCKS COFFEE สู่ STARBUCKS


STARBUCKS COFFEE  > STARBUCKS

ช่วงก่อนการรีแบรนด์
-สถานการณ์
            เนื่องจากในปัจจุบันค่านิยมในการทานกาแฟและการใช้ชีวิตที่เน้นด้านการเป็นไลฟ์สไตล์ มากขึ้น ทั้งคนทำงานที่ปกติก็นิยมดื่มกาแฟอยู่เดิมแล้ว ลูกค้าในกลุ่มนี้จึงมีมากและเป็นกลุ่มที่ เหนี่ยวแน่นในการใช้บริการแบรนด์เดิมๆที่อยู่ในความคิดแรกและเป็นประจำ ทั้งรูปแบบ ของการใช้ชีวิตของวัยรุ่นในปัจจุบันมีแนวโน้มในการเปลี่ยนแปลงเพื่อปรับเข้าหาสิ่งใหม่ๆ ที่ดูสดใส อยากลิ้มลองของใหม่ๆ เมื่อค่านิยมการเข้าร้านกาแฟมีมากขึ้นนี้เอง การแข่งขันในตลาดของร้าน ให้บริการและเครื่องดื่มมีมากขึ้น ลูกค้าเน้นหาสิ่งที่ตรงใจและตอบรับการใช้ชีวิตที่แสดงความ เป็นตัวเอง ด้วยความใส่ใจนี่เองเป็นผลให้ธุรกิจกลุ่มนี้ต่างตื่นตัวในการนำเสนอตนเอง ออกมาเพื่อให้ลูกค้าได้รับรู้

-ประเด็นปัญหา
            สตาร์บัคส์ เป็นหนึ่งในแบรนด์ของการคิดถึงที่ลูกค้ามีการคิดถึงเป็นอันดับต้นๆ แม้กระทั่ง นักพัฒนาแบรนด์เองยังไม่พลาดที่จำหยิบยกชื่อนี้มากล่าวถึงการเป็นตัวอย่างของการทำแบรนด์ตนเอง อีกทั้งอายุที่ล่วงเลยเข้าสู่วัย40ปีนั้นแล้ว 
ก็ย่อมต้อนผ่านร้านผ่านหนาวมาพอสมควรจึงต้องมี การปรับตัวเพื่อเข้าสู่อนาคตที่สร้างความมั่นคงให้แก่แบรนด์ด้วย และด้วยสาเหตุของการแข่งขัน ที่รุนแรงของแวดวงธุรกิจกลุ่มนี้ ที่เป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวของประเทศแม่ 
ของบริษัทเอง ทำให้เกิดการปรับตัวกันยกใหญ่


-สาเหตุที่ต้องทำ รีแบรนด์
            จากเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ส่งผลต่อการปิดตัวของสาขาในประเทศแม่ในสหรัฐ ที่มีการลดการจ้างงานพนักงานและสาขาลงจำนวนมาก ทั้งรวมถึงการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป นำสู่การปรับตัว เมื่อเราเองสร้างความเป็นที่ที่สามที่ลูกค้าเลือกเข้ามานอกเหนือจาก บ้านและที่ทำงานแล้ว เราเป็นที่ที่ลูกค้าคิดถึงมากที่สุด เราต้องส้รางที่ที่ลูกค้าเลือกให้ สบายและตอบรับการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไปมากที่สุด เพื่อคงส่วนแบ่งและทำตลาดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำร้านกาแฟให้มากกว่าร้านกาแฟ เราเป็นบ้านผ่าน Green Concept.

ช่วงเปลี่ยนแปลง
-สิ่งที่เปลี่ยนแปลง
            เริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงในช่วงแรกตั้งแต่มีการวิเคราะห์ผู้บริโภคยุคใหม่มาแล้ว ทั้งแบรนด์เอง
ก็เป็นที่รู้จัก ส่งผลให้โลโก้เองมีการเปลี่ยนแปลงเหลือเพียงแค่รูปและคำว่า STARBUCKS เท่านั้น



นอกจากการเปลี่ยนแปลงของโลโก้แล้ว ยังมีการเปลี่ยนแปลงจุดยืน เพื่อส่งผล ต่อสินค้าในกลุ่มของสตาร์บัคส์ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงและการเข้ามาของสินค้า ของแบรนด์ที่แน่นอนว่าจะมีการเพิ่มขึ้นแน่นอน รวมถึงจะมีการนำไวน์เข้ามาขายเพื่อตอบรับ การเป็น Third Place ของแบรนด์ ซึ่งการปรับครั้งนี้ก็สอดรับกับความเปลี่ยนแปลงและความ ต้องการของลูกค้าที่ไม่นิยมทานกาแฟในเวลากลางคืน 
เพื่อสนับสนุนการเปิดบริการถึงช่วงดึกของ แต่ละสาขาเอง

-กิจกรรมช่วงการเปลี่ยนแปลง
            กิจกรรมในช่วงนี้มีการแนะนำสินค้าชนิดใหม่เข้ามาขายเป็นเค้กแบบป๊อปอัพที่สามารถเดินถือทานได้เลย ซึ่งกิจกรรมนี้ทำให้ลูกค้าในกลุ่มเด็กลงมาตอบรับมาก เพื่อทานกับกาแฟในช่วงบ่าย 
ที่เข้ากัน และเน้นไปที่เทศกาลไหว้พระจันทร์ทุกครั้งจะมีการออกขนมที่เป็นขนมประจำเทศกาลเพื่อสามารถนำไปเป็นของขวัญและ รับประทานคู่กับกาแฟ เพื่อเกิดผลดีกับแบรนด์จากผู้ที่ได้รับของขวัญนั้นไป



นอกเหนือจากสินค้าในกลุ่มเบเกอร์รี่แล้วนั้น ยังได้นำเสนอเรื่องดื่มใหม่ๆเพื่อให้เข้ากับ เทศกาลทั้งรับกับความสดใสมากขึ้น เพื่อให้ลูกค้ามีตัวเลือกใหม่ๆเพิ่มขึ้น โดยการปรับเปลี่ยนไปตาม เทศกาลและฤดูกาลของแต่ละพื้นที่ ที่สาขาตั้งอยู่





ช่วงหลังรีแบรนด์
-กิจกรรมสื่อสารการตลาด
ในการทำกิจกรรมสื่อสารการตลาดนั้นสตาร์บัคส์ได้มีการปรับตัวให้เข้ากับสื่อออนไลน์มากขึ้นโดย
นำแอฟพลิเคชั่นต่างๆเข้ามาใช้เพื่อความสะดวกกับลูกค้าและการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนไปตามกระแส ทั้งเน้นการสื่อสารกับลูกค้าทุกช่องทางสร้างความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์และลูกค้า





นอกจากจะมีการระบบออนไลน์แล้ว ระบบความสัมพันธ์กับสมาชิกภายในร้านที่มีสิทธิพิเศษ ให้กับลูกค้าที่ใช้บริการเป็นประจำโดยนำ บัตรสมาชิกแบบเติมเงินที่มีสิทธิพิเศษ  เพื่อส้รางแรงจูงใจ ให้ลูกค้าอยากใช้บริการกับเรา

รวมถึงการออกเครื่องดื่มสำเร็จพร้อมชงที่ส้รางความสะดวกให้ลูกค้ามากขึ้น เพื่อสามารถ ในไปชงดื่มที่ใดก็ได้ที่ต้องการและเพื่อความสะดวกโดยเลือกผสมน้ำอุณหภูมิปกติได้ด้วย



-ภาพลักษณ์
            หลังจากที่ได้ผ่านกระบวนการต่างๆทั้งหมดแล้ว ผ่านการประเมินการตอบรับ และยอดขายในอัตราส่วนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แสดงให้เห็นถึงการประสบความสำเร็จ และสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตกับแบรนด์ที่จะสามารถสร้างให้เป็นแบรนด์ที่แข็งแรงและตอบรับกับลูกค้าที่มีการเปลี่ยนไปได้อีกด้วย