STARBUCKS COFFEE > STARBUCKS
ช่วงก่อนการรีแบรนด์
-สถานการณ์
เนื่องจากในปัจจุบันค่านิยมในการทานกาแฟและการใช้ชีวิตที่เน้นด้านการเป็นไลฟ์สไตล์
มากขึ้น ทั้งคนทำงานที่ปกติก็นิยมดื่มกาแฟอยู่เดิมแล้ว ลูกค้าในกลุ่มนี้จึงมีมากและเป็นกลุ่มที่
เหนี่ยวแน่นในการใช้บริการแบรนด์เดิมๆที่อยู่ในความคิดแรกและเป็นประจำ ทั้งรูปแบบ ของการใช้ชีวิตของวัยรุ่นในปัจจุบันมีแนวโน้มในการเปลี่ยนแปลงเพื่อปรับเข้าหาสิ่งใหม่ๆ
ที่ดูสดใส อยากลิ้มลองของใหม่ๆ เมื่อค่านิยมการเข้าร้านกาแฟมีมากขึ้นนี้เอง
การแข่งขันในตลาดของร้าน ให้บริการและเครื่องดื่มมีมากขึ้น
ลูกค้าเน้นหาสิ่งที่ตรงใจและตอบรับการใช้ชีวิตที่แสดงความ เป็นตัวเอง
ด้วยความใส่ใจนี่เองเป็นผลให้ธุรกิจกลุ่มนี้ต่างตื่นตัวในการนำเสนอตนเอง
ออกมาเพื่อให้ลูกค้าได้รับรู้
-ประเด็นปัญหา
สตาร์บัคส์
เป็นหนึ่งในแบรนด์ของการคิดถึงที่ลูกค้ามีการคิดถึงเป็นอันดับต้นๆ แม้กระทั่ง
นักพัฒนาแบรนด์เองยังไม่พลาดที่จำหยิบยกชื่อนี้มากล่าวถึงการเป็นตัวอย่างของการทำแบรนด์ตนเอง
อีกทั้งอายุที่ล่วงเลยเข้าสู่วัย40ปีนั้นแล้ว
ก็ย่อมต้อนผ่านร้านผ่านหนาวมาพอสมควรจึงต้องมี
การปรับตัวเพื่อเข้าสู่อนาคตที่สร้างความมั่นคงให้แก่แบรนด์ด้วย
และด้วยสาเหตุของการแข่งขัน ที่รุนแรงของแวดวงธุรกิจกลุ่มนี้
ที่เป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวของประเทศแม่
ของบริษัทเอง
ทำให้เกิดการปรับตัวกันยกใหญ่
-สาเหตุที่ต้องทำ
รีแบรนด์
จากเศรษฐกิจที่ชะลอตัว
ส่งผลต่อการปิดตัวของสาขาในประเทศแม่ในสหรัฐ ที่มีการลดการจ้างงานพนักงานและสาขาลงจำนวนมาก
ทั้งรวมถึงการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป นำสู่การปรับตัว
เมื่อเราเองสร้างความเป็นที่ที่สามที่ลูกค้าเลือกเข้ามานอกเหนือจาก
บ้านและที่ทำงานแล้ว เราเป็นที่ที่ลูกค้าคิดถึงมากที่สุด
เราต้องส้รางที่ที่ลูกค้าเลือกให้ สบายและตอบรับการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไปมากที่สุด
เพื่อคงส่วนแบ่งและทำตลาดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำร้านกาแฟให้มากกว่าร้านกาแฟ
เราเป็นบ้านผ่าน Green Concept.
ช่วงเปลี่ยนแปลง
-สิ่งที่เปลี่ยนแปลง
เริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงในช่วงแรกตั้งแต่มีการวิเคราะห์ผู้บริโภคยุคใหม่มาแล้ว
ทั้งแบรนด์เอง
ก็เป็นที่รู้จัก
ส่งผลให้โลโก้เองมีการเปลี่ยนแปลงเหลือเพียงแค่รูปและคำว่า STARBUCKS เท่านั้น
นอกจากการเปลี่ยนแปลงของโลโก้แล้ว
ยังมีการเปลี่ยนแปลงจุดยืน เพื่อส่งผล ต่อสินค้าในกลุ่มของสตาร์บัคส์
เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงและการเข้ามาของสินค้า
ของแบรนด์ที่แน่นอนว่าจะมีการเพิ่มขึ้นแน่นอน
รวมถึงจะมีการนำไวน์เข้ามาขายเพื่อตอบรับ การเป็น Third Place ของแบรนด์
ซึ่งการปรับครั้งนี้ก็สอดรับกับความเปลี่ยนแปลงและความ ต้องการของลูกค้าที่ไม่นิยมทานกาแฟในเวลากลางคืน
เพื่อสนับสนุนการเปิดบริการถึงช่วงดึกของ แต่ละสาขาเอง
-กิจกรรมช่วงการเปลี่ยนแปลง
กิจกรรมในช่วงนี้มีการแนะนำสินค้าชนิดใหม่เข้ามาขายเป็นเค้กแบบป๊อปอัพที่สามารถเดินถือทานได้เลย
ซึ่งกิจกรรมนี้ทำให้ลูกค้าในกลุ่มเด็กลงมาตอบรับมาก เพื่อทานกับกาแฟในช่วงบ่าย
ที่เข้ากัน และเน้นไปที่เทศกาลไหว้พระจันทร์ทุกครั้งจะมีการออกขนมที่เป็นขนมประจำเทศกาลเพื่อสามารถนำไปเป็นของขวัญและ
รับประทานคู่กับกาแฟ เพื่อเกิดผลดีกับแบรนด์จากผู้ที่ได้รับของขวัญนั้นไป
นอกเหนือจากสินค้าในกลุ่มเบเกอร์รี่แล้วนั้น
ยังได้นำเสนอเรื่องดื่มใหม่ๆเพื่อให้เข้ากับ เทศกาลทั้งรับกับความสดใสมากขึ้น
เพื่อให้ลูกค้ามีตัวเลือกใหม่ๆเพิ่มขึ้น โดยการปรับเปลี่ยนไปตาม
เทศกาลและฤดูกาลของแต่ละพื้นที่ ที่สาขาตั้งอยู่
ช่วงหลังรีแบรนด์
-กิจกรรมสื่อสารการตลาด
ในการทำกิจกรรมสื่อสารการตลาดนั้นสตาร์บัคส์ได้มีการปรับตัวให้เข้ากับสื่อออนไลน์มากขึ้นโดย
นำแอฟพลิเคชั่นต่างๆเข้ามาใช้เพื่อความสะดวกกับลูกค้าและการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนไปตามกระแส
ทั้งเน้นการสื่อสารกับลูกค้าทุกช่องทางสร้างความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์และลูกค้า
นอกจากจะมีการระบบออนไลน์แล้ว
ระบบความสัมพันธ์กับสมาชิกภายในร้านที่มีสิทธิพิเศษ
ให้กับลูกค้าที่ใช้บริการเป็นประจำโดยนำ บัตรสมาชิกแบบเติมเงินที่มีสิทธิพิเศษ เพื่อส้รางแรงจูงใจ
ให้ลูกค้าอยากใช้บริการกับเรา
รวมถึงการออกเครื่องดื่มสำเร็จพร้อมชงที่ส้รางความสะดวกให้ลูกค้ามากขึ้น
เพื่อสามารถ
ในไปชงดื่มที่ใดก็ได้ที่ต้องการและเพื่อความสะดวกโดยเลือกผสมน้ำอุณหภูมิปกติได้ด้วย
-ภาพลักษณ์
หลังจากที่ได้ผ่านกระบวนการต่างๆทั้งหมดแล้ว
ผ่านการประเมินการตอบรับ และยอดขายในอัตราส่วนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
แสดงให้เห็นถึงการประสบความสำเร็จ
และสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตกับแบรนด์ที่จะสามารถสร้างให้เป็นแบรนด์ที่แข็งแรงและตอบรับกับลูกค้าที่มีการเปลี่ยนไปได้อีกด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น