วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

หลักความสำเร็จของ STARBUCKS


    ในหลายๆ ปีที่ผ่านมามีหนังสือที่เกี่ยวกับ starbucks ทยอยออกมาหลายเรื่อง มีทั้งที่เป็น 
เรื่องราวเป็นประวัติการก่อตั้ง ความเป็นมา ตลอดไปถึงกลยุทธ์  การจัดการ  วัฒนธรรมองค์กร ฯลฯ




  และขณะเดียวกันก็ถูกนำมาแปลเป็น
ภาษาไทยก็หลายเล่ม แสดงให้เห็นถึงความน่าสนใจ ให้นำมาเป็นกรณีศึกษาในการบริหารแบรนด์ หรือสร้างแบรนด์ให้ติดอันดับต้นๆแบรนด์ในใจของผู้บริโภคทั่วโลก


หากลองวิเคราะห์สตาร์บัคส์ แล้วจะพบว่า สตาร์บัคส์ มี ศักยภาพมากในการที่มีระบบการจัดการและบริหารที่ดี มีการสร้างแบรนด์ที่ดี และพนักงาน มีความจงรักภักดีต่องค์กรสูง ทำให้สตาร์บัคส์เป็นผู้นำในอุตสาหกรรม ร้านกาแฟ 




สตาร์บัคส์ มีจุดแข็ง(Strength)  ที่ เป็นแบรนด์ที่เป็นที่รู้จักทั่วโลก สินค้ามีคุณภาพสูง มีศูนย์กลางในการบริหารและควบคุม คุณภาพในภูมิภาคต่างๆ (Starbucks support Center)    ทั้งยังมีทำเลที่ตั้งกระจายอยู่ในทุกแหล่งชุมชนทำให้ลูกค้ามองเห็นได้ง่าย  และอีกประการคือการที่พนักงานมีความรักต่อองค์กร ทำให้มีอัตราการเปลี่ยนพนักงานต่ำ เนื่องจาก สตาร์บัคส์ให้ผลประโยชน์และตอบแทนแก่พนักงานในฐานะหุ้นส่วน แต่ครึ่งปีแรกที่ผ่านมาของปี 2008 สตาร์บัคส์ต้องปิดตัวไปหลายร้อยสาขา เนื่องจาก
เพราะว่าสตาร์บัคส์ เปิดสาขาในทำเลที่ติดกัน มากเกินไป ทำให้ต้องปิดร้านที่ทำกำไรได้น้อยไป






จุดอ่อนของ สตาร์บัคส์ น่าจะเป็นที่ราคาที่ค่อนข้างสูง กว่าแบรนด์อื่นๆ  แต่เมื่อเป็นกาแฟระดับพรีเมี่ยม
ผู้บริโภคย่อมพอใจที่จะจ่าย เพื่อแลกกับบรรยากาศ และ ลักษณะเฉพาะตัวของstarbucks

ที่หลายๆ คนบอกว่ารสชาติและบรรยากาศความหอมในร้านกาแฟ
สตาร์บัคส์ไม่เหมือนที่ใด
นับว่าความหอมของกาแฟ เป็น 

identity เฉพาะของสตาร์บัคส์










หากมองหาว่าอะไรที่ทำให้สตาร์บัคส์ประสบความสำเร็จ อาจตอบได้ว่ามีปัจจัยหลักๆ 3 ประการ ซึ่งก็คือ

1. สินค้า
2. การบริการ
3. สินทรัพย์สัมพันธภาพ หรือ relation Capital  ซึ่งประกอบด้วย ลูกค้า ซัพพลายเออร์ 
    พันธมิตรธุรกิจ และ พนักงาน



ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สนับสนุนกลยุทธ์ต่างๆ ของสตาร์บัคส์อย่างมาก โดยเฉพาะ
กลยุทธ์ระดับบริษัท Globalization strategy และ Partnerships strategy
Globlization strategy จะเป็นวิธีการที่สตาร์บัคส์ใช้ในการขยายสาขาทั่วโลก ซึ่งในและภูมิภาคแต่ละทวีป  สตาร์บัคส์จะใช้วิธีการในการลงทุนที่แตกต่างกัน
ขึ้นอยู่กับว่าสตาร์บัคส์มีความรู้เกี่ยวกับตลาดและพฤติกรรมผู้บริโภคมากน้อยเพียงใด
เช่น ในทวีปเอเชีย จะใช้การร่วมลงทุน กับบริษัทในประเทศที่จะไปเปิดสาขา
ในตะวันออกกลางก็จะใช้การให้ลิขสิทธิ์แก่นักลงทุนในประเทศนั้นๆ ส่วนประเทศใน
ทวีปยุโรปจะใช้การเข้าไปลงทุนเองทั้งหมดเนื่องจากสตาร์บัคส์มองว่าพฤติกรรม
ผู้บริโภคคล้ายคลึงกับชาวอเมริกัน



ส่วนกลยุทธ์ Partnerships นั้น จะเป็นการสร้างพันธมิตรธุรกิจ เพื่อจะทำการ
พัฒนาแบรนด์และเพื่อให้เข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้นผ่านช่องทางหลายๆ ช่องทาง
ไม่ว่าจะเป็น สนามบิน ร้านหนังสือ โรงแรม และร้านค้าอื่นๆ
ทำให้สตาร์บัคส์มีอัตราเติบโตทั่วโลกที่รวดเร็ว…อย่างที่เห็นและเป็นอยู่นั่้นเอง.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น